


ที่มา : www.thaidentalmag.com
การถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการรักษาทางทันตกรรม ที่ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษา รวมทั้งการประเมินผลและติดตามการรักษา ทันตแพทย์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง ถึงแม้ปริมาณรังสีเอกซ์ที่ใช้ในทางทันตกรรมโดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม ดังนั้นทันตแพทย์ผู้ที่จะทำการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นสำคัญดัง นี้ เมื่อต้องถ่ายภาพรังสีให้กับผู้ป่วย

Justifictionการเลือกถ่ายภาพรังสีอย่างมีเหตุผล
การเลือกถ่ายภาพรังสีอย่างมีเหตุผล ทันตแพทย์ต้องคำนึงเสมอว่าเมื่อไรจึงจำเป็นที่จะต้องถ่ายภาพรังสีให้ผู้ป่วย เมื่อไรภาพรังสีจะให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วย โดยสามารถดูข้อมูลจาก American Dental Association (ADA): Dental Radiographic Examinations: Recommendation for Patient Selection and Limiting Radiation Exposure, 2012.(1) ซึ่งได้ตีพิมพ์ข้อแนะนำในการเลือกถ่ายภาพรังสีแก่ผู้ป่วยตามอายุ และตามลักษณะของโรคของผู้ป่วยไว้
รวมถึงการเลือกใช้เทคนิคการถ่ายภาพรังสีแบบต่างๆ ซึ่งให้ภาพรังสีและข้อมูลที่เหมาะสม และการเลือกใช้ parameters ต่างๆ เช่น การตั้งเวลาในการถ่ายภาพรังสีแต่ละเทคนิคอย่างเหมาะสม
Alara
Alara -As low As reasonably Achievable
หลักการของ ALARA เป็นที่ทราบกันดีคือ ทันตแพทย์จะถ่ายภาพรังสีให้ผู้ป่วย โดยใช้ปริมาณรังสีที่น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการ รักษาให้แก่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยที่ผู้ป่วยได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งสามารถตีความได้ว่า หากผู้ป่วยไม่ได้ข้อมูลจากภาพรังสีนั้นๆ มาช่วยเสริมในการวินิจฉัย ก็อาจทำให้ทันตแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำ ทำให้เกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น
ในกรณีผู้ป่วยตั้งครรภ์ ซึ่งเราทราบกันดีว่าในช่วงไตรมาสแรก หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ทารกกำลังมีพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความไวต่อรังสีมากกว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ดังนั้นหากมารดามีความจำเป็นต้องได้รับการถ่ายภาพรังสี ซึ่งหากไม่ได้รับการถ่ายภาพรังสีดังกล่าว ก็อาจะทำให้ทันตแพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัย และให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจเกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยได้ ดังนั้นภาพรังสีจึงมีความจำเป็น ในระหว่างการถ่ายทันตแพทย์ต้องให้การป้องกันแต่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม คือ ต้องมีการใส่เสื้อตะกั่วป้องกันรังสี (lead apron) และเลือกถ่ายภาพรังสีเท่าที่มีความจำเป็นต่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วยรายนั้นๆ
สรุปแล้ว ทันตแพทย์ต้องยึดหลักการของ ALARA เป็นสำคัญ โดยในผู้ป่วยแต่ละราย อาจมีความจำเป็นในการได้รับการถ่ายภาพรังสีที่ไม่เหมือนกัน ทันตแพทย์ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป
ส่วนในกรณีผู้ป่วยเด็กซึ่งต่อมไทรอยด์เป็นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อรังสีมากกว่าในวัยอื่นๆ ต้องมีการให้การป้องกันแก่ผู้ป่วยเช่น การใส่ปลอกคอไทรอยด์(thyroid collar) เมื่อผู้ป่วยต้องได้รับการถ่ายภาพรังสีในปาก ส่วนในการถ่ายภาพรังสีนอกปากโดยเฉพาะภาพรังสีพานอรามิก จะไม่สามารถใส่ปลอกคอป้องกันไทรอยด์ได้เนื่องจากปลอกคอจะมาซ้อนทับและบดบังภาพบริเวณขากรรไกรล่าง
Dose Limits สำหรับบุคลากรทางทันตกรรมและคนทั่วไป
ทันตแพทย์นอกจากต้องให้ความสำคัญแก่การป้องกันอันตรายของรังสีเอกซ์แก่ผู้ป่วยแล้วยังต้องคำนึงถึงการป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ถ่ายภาพรังสีซึ่งอาจเป็นตัวทันตแพทย์เอง หรือ เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์ก็ตาม รวมถึงต้องคำนึงถึงผู้ป่วยท่านอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับห้องถ่ายภาพรังสี และบุคคลภายนอกคลินิกของเราด้วย
การจัดตำแหน่งเครื่องถ่ายภาพรังสีให้เหมาะสมมีความสำคัญต่อการป้องกันรังสีเอกซ์ต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไป ในการออกแบบห้องถ่ายภาพรังสี ต้องมีการก่อสร้างผนังที่สามารถป้องกันรังสีได้ตามมาตรฐาน ซึ่งปกติแล้วในการป้องกันรังสีเอกซ์ ต้องใช้ผนังที่ทำจากอิฐมอญหนาอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือผนังที่มีตะกั่วหนาอย่างน้อย 1 มิลลิเมตร (Radiation Protection in Environmental Health Directorate, Health Canada, Dentistry- Recommended safety Procedure for the Use of Dental X-Ray Equipment-Safety Code 30, 1999.)(2)
ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีแบบมือถือ (Hand-held dental X-ray machine) หรือเครื่องถ่ายภาพรังสีแบบเคลื่อนที่ (Portable dental X-ray machine) ที่มีลักษณะคล้ายกล้องถ่ายภาพดิจิตอล
ทันตแพทย์ต้องหมั่นเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพรังสีเทคนิคใหม่ๆ ทั้งในแง่การเลือกใช้ และการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วย โดยปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์แนวทาง และข้อแนะนำในการถ่ายภาพรังสีแบบต่างๆ โดยเฉพาะการใช้ Cone-beam computed tomography (CBCT) เนื่องจากภาพรังสี 3 มิติที่ได้จาก CBCT กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาทางทันตกรรมหลากหลายส าขา(5-9) รวมถึงมีการณรงค์การลดปริมาณรังสีเอกซ์ในการถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยเด็กด้วย
ซึ่งผู้ถ่ายภาพรังสีต้องถือเครื่องถ่ายภาพรังสีไว้ขณะกดถ่ายภาพ ซึ่งผู้ถ่ายมีโอกาสได้รับรังสีสะท้อนได้โดยเฉพาะในบริเวณนิ้วมือ และลำตัว ถึงแม้ในเครื่องเอกซเรย์แบบมือถือบางยี่ห้อจะมีการติดสิ่งป้องกันรังสีสะท้อนบริเวณกระบอกถ่าย (shielding) แต่เนื่องจากผู้ถ่ายอาจไม่ได้ถือเครื่องเอกซเรย์ในแนวราบ (ซึ่งเป็นลักษณะการถือที่แนะนำ) ได้เสมอไป โอกาสที่ผู้ถ่ายจะได้รับรังสีสะท้อน (scattered radiation) จึงยังมีสูงกว่าการใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีในปากแบบทั่วๆ ไป
เครื่องถ่ายภาพรังสีแบบมือถือเช่นนี้ เหมาะกับงานที่ทันตแพทย์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่เครื่องถ่ายภาพรังสีได้ เช่น ในกรณีหน่วยทันตกรรมนอกสถานที่ งานด้านนิติเวชวิทยา ผู้ป่วยสูงอายุ หรือการถ่ายภาพรังสีในห้องผ่าตัด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ทันตแพทย์ใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีชนิดนี้ในงานประจำทั่วไป หากจำเป็นต้องใช้ ผู้ถ่ายภาพรังสีควรใส่เสื้อตะกั่วป้องกัน รวมถึงใส่ถุงมือตะกั่ว (lead gloves) ป้องกันขณะใช้เสมอ
โดย : อ.ทญ.ดร. พิสชา พิทยพัฒน์ และ อ.ทพ.พลกฤษณ์ ศิลป์พิทักษ์สกุล ภาควิชารังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



