
เมื่อภาพรังสีมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษาในยามที่ผู้ป่วยมีชีวิต และช่วยในการพิสูจน์ตัว ตนของผู้ป่วยในยามที่ไม่มีชีวิตแล้ว ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทันตแพทย์จะยกเหตุผลนานัปการของการ ไม่ถ่ายภาพรังสี ไม่ว่าจะเป็นการเสียเวลา คนไข้เยอะ ไม่มีผู้ช่วย รพ.(หรือคนไข้) เสียตังค์เยอะ ฯลฯ ทิ้งไป และยกมาตรฐานการรักษาของวิชาชีพทันตกรรมไว้แทน
นอกจากนี้แล้วยังพบการไม่ถ่ายภาพรังสีก่อนการทำฟัน ทั้งทีภาพรังสีจะช่วยให้เราประเมิน ความยากง่ายของฟันที่จะถอน ตรวจพบพยาธิสภาพอื่นที่ไม่คาดคิด ซึ่งจะเป็นข้อมูล อธิบายให้ผู้ป่วยทราบล่วงหน้าไม่ต้องเป็นประเด็นให้สงสัยในมาตรฐานหรือฝีมือการรักษาของหมอดังเช่นผู้ป่วยรายนี้
ผู้ป่วยรายหนึ่งมาตรวจรักษาช่องปาก ขูดหินน้ำลายและขัดฟันตามทันตแพทย์แนะนำเป็นประจำ ทุก 6 เดือนติดต่อกันต่อเนื่องมานานถึงสามปี แล้วจู่ๆ วันหนึ่งเกิดมีอาการปวดฟันกรามอย่างมากเมื่อ ส่งถ่ายภาพรังสีพบมีรอยผุด้านประชิด(proximal) ลึกถึงประสาทฟัน ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นเพราะหมอดูแลไม่ดี ตรวจไม่ละเอียด เพราะที่ผ่านมาตนเองมาตรวจรักษาที่คลินิกนี้อยู่เป็นประจำ แต่ยังไม่เคย ได้รับการถ่ายภาพรังสีเลยจนกระ ทั่งมามีอาการดังกล่าวผู้ป่วยจึงขอให้หมอเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน เรื่องนี้จบลงด้วยดีเพราะหมอรับผิดชอบรักษาให้
ผู้ป่วยรายแรก
ช่วงนี้เรื่องใหญ่ในวงการแพทย์ที่เพื่อนๆ ส่งต่อมาให้อ่านทาง social media กันเป็นอย่างมาก คงไม่พ้นการที่ศาลตัดสินให้กระทรวงสาธารณสุขแพ้คดีที่แพทย์ให้การรักษาวัณโรคล่าช้าจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดความพิการทางสมอง จนมีประเด็นที่แพทย์เกรงกันว่า หากเป็นเช่นนี้แล้วการแปล ผลภาพถ่ายรังสีจะต้องทำโดยรังสีแพทย์หรือไม่
เมื่อย้อนมามองวงการทันตแพทย์เรา อาจมีประเด็นที่น่ากังวลกว่า เพราะไม่ใช่มีเพียงแค่เรื่อง ความถูกต้องในการอ่านผล แต่เรายังอยู่ในประเด็นของการไม่ถ่ายภาพรังสีเพื่อนำมาใช้ประกอบการ ตรวจวินิจฉัย หรือวางแผนรักษาจนอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดความเสียหายจากการรักษาและนำมา ฟ้องร้องได้เพียงแต่ไม่เกิดเหตุจนเป็นข่าวดัง
เป็นผู้ป่วยเด็กมาด้วยอาการปวดฟันซี่ที่เพิ่งอุดมาเมื่อไม่กี่เดือน ทั้งที่ก่อนอุดไม่เคยมีอาการปวดมาก่อนเมื่อตรวจด้วยภาพรังสีพบรอยผุด้านประชิดลึกถึงประสาทฟัน (อีกแล้ว) พออธิบาย ให้ผู้ปกครองทราบถึงสาเหตุของอาการปวดแล้ว ก็ต้องแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินเสียงพึมพำของผู้ปกครองที่ว่า แล้วทำไมตอนที่อุดฟัน หมอคนก่อนเค้าไม่เอกซเรย์ ฯลฯ
ผู้ป่วยรายนี้ที่ถูกส่งมาเพื่อผ่าตัดเอารากฟันออกจากโพรงอากาศข้างจมูก(maxillary sinus) โดย บ่นไม่พอใจหมอที่ถอนฟันแล้วรากหัก รู้สึกว่าหมอทำไม่ดี ไม่ระมัดระวัง จึงทำให้รากฟันหักเข้าไปใน โพรงอากาศ จนต้องรักษายุ่งยากขึ้น เตรียมติดต่อทนายเพื่อฟ้องหมอแล้ว ด้วยความรู้สึกว่า หมอไม่ บอกให้รู้ก่อน ซึ่งในรายนี้พบว่าไม่ถ่ายภาพรังสีก่อนถอนฟัน จึงไม่ได้ประเมินให้ผู้ป่วยทราบก่อนว่ามี ความเสี่ยง ทั้งที่ภาพรังสีที่ถ่ายหลังรากฟันหักนั้น เห็นได้ชัดว่ารากฟันจุ่มอยู่ในไซนัส หากได้ถ่าย ภาพรังสีก่อนทำ จะเป็นข้อมูลช่วยให้ผู้ป่วยเตรียมใจ ป้องกันความไม่พอใจที่อาจเกิดขึ้นเหมือน ผู้ป่วยรายนี้


ภาพรังสี
คิดให้รอบคอบ
ถ่าย
ไม่ถ่าย
ผู้ป่วยรายที่สอง



ผู้ป่วยรายที่สาม
ภาพรังสียังมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยยามที่เสียชีวิตแล้วเป็นอย่างมาก ข่าวแผ่นดินไหวล่าสุดที่เกิดขึ้น ที่เมืองคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้นึกถึงเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศไทยเมื่อสิบกว่าปีก่อน ที่พบ ว่าการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยข้อมูลทันตกรรมในคนไทย มีปัญหามากมาย ไม่ได้ผลดีเหมือนชาวต่าง ชาติโดยเฉพาะในชาวยุโรป ซึ่งมีภาพรังสีมาแสดงกันเกือบทุกราย โดยภาพรังสีพื้นฐานที่มีกันคือ ภาพไบท์วิง(bitewing) ขณะที่คนไทยไม่มีหลักฐานทางภาพรังสีมาแสดงกันเลย ทั้งที่เคยไปรักษา ที่คลินิกนั้นๆ มาก่อน ปัญหาที่พบเกิดจาก ทันตแพทย์ไม่ส่งถ่ายภาพรังสี แม้แต่ฟิล์มไบท์วิง ซึ่งควร ถ่ายในรายที่เป็นผู้ป่วยใหม่ การมีภาพรังสี แต่สภาพไม่ดี เหลือง เลอะ ติดซอง มีประวัติการถ่ายแต่ ไม่ได้เก็บไว้แล้ว ซึ่งกฎกระทรวงฯปี พ.ศ. 2555 เรื่องเอกสารที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล กำหนด ให้เก็บรักษาข้อมูลผู้ป่วยไว้ให้อยู่ในสภาพที่สามารถตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่าห้าปีหากผู้ป่วยหรือญาติมาขอประวัติการรักษาแล้วไม่มีให้ ก็อาจเกิดข้อร้องเรียนขึ้นได้
ผู้ป่วยรายที่สาม
ในรายที่ฟันโยกมากแล้วหลายคนไม่ส่งถ่ายภาพรังสีเพราะประเมินว่าถอนง่าย อาจเป็นเพราะไม่เคยรู้จักกับ Vascular Malformation มาก่อน ว่าพยาธิสภาพนี้ก็มีลักษณะอาการฟันโยกเช่นกันดัง เช่นผู้ป่วยรายนี้ที่มาด้วยอาการฟันโยก โชคดีที่ทันตแพทย์ส่งถ่ายภาพรังสีและพบว่า กระดูกรอบรากฟัน มีลักษณะแปลก ไม่เหมือนรอยโรคปกติ จึงส่งต่อทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อช่วยวินิจฉัย ซึ่ง ลักษณะที่พบคือ honeycomb appearance ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Vascular Malformation ซึ่ง เป็นฟันที่ถอนฟันไม่ยาก แต่เลือดจะออกไม่หยุด จึงส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มี ความพร้อม ไม่เช่นนั้นคงมีข่าวพาดหัว "ถอนฟันซี่เดียว เลือดไหลไม่หยุด" ให้สังคมแตกตื่นกันแน่
