top of page

            คลินิกทันตกรรมหรือห้องทันตกรรมในโรงพยาบาลต่างก็ต้องมีการถ่ายภาพรังสีและใช้ภาพรังสีในทุกๆวัน การผลิตภาพรังสีที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับใช้ในการวินิจฉัย วางแผน และติดตามผลการรักษาจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยคำนึงถึงการใช้ปริมาณรังสีให้น้อยที่สุด และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

           การประกันคุณภาพหรือ Quality assurance เป็นการดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์หรือการบริการมีประสิทธิภาพสูงสุด และก่อให้เกิดการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นการประกันคุณภาพของภาพรังสีนั้นประกอบด้วยการตรวจเช็คและควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิตภาพรังสี ตั้งแต่เครื่องเอกซเรย์ ,ฟิล์มหรือตัวรับภาพ (image receptors) ตลอดจนกระบวนการล้างฟิล์มและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูภาพรังสี ถึงแม้จะเป็นงานจุกจิกและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่ก็ช่วยให้การทำงานในภาพรวมง่ายและเป็นระบบมากขึ้นผู้เขียนจึงขอเสนอแนะวิธีการในการประกันคุณภาพของภาพรังสีที่สามารถทำได้ไม่ยากและใช้เวลาไม่นาน โดยเป็นความรับผิดชอบของทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์แบ่งเป็นการตรวจเช็คประจำวัน สัปดาห์ เดือน และประจำปี ซึ่งควรมีตารางที่แน่นอนและต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในแต่ละหน้าที่อย่างชัดเจน

การประกันคุณภาพของภาพรังสี: เรื่องดีๆที่ไม่ควรละเลย

การตรวจเช็คประจำวัน

            1.ก่อนเริ่มงาน ควรตรวจเช็คอุณหภูมิ,ปริมาณของ developer และ fixer และปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอุณหภูมิของน้ำยาไม่ควรร้อนหรือเย็นเกินไปซึ่งจะมีผลต่อความดำของฟิล์ม สำหรับเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติให้ควบคุมให้ได้ตามบริษัทกำหนด

             2.เปรียบเทียบ density ของภาพรังสีของผู้ป่วยในวันนั้นกับภาพรังสีอ้างอิง (ภาพรังสีอ้างอิง คือภาพรังสีของผู้ป่วยที่ถ่ายด้วยค่าปกติและล้างด้วยน้ำยาที่เพิ่งเปลี่ยนใหม่) หากภาพรังสีของผู้ป่วยที่ได้ ขาวและ contrast ต่ำกว่าภาพรังสีอ้างอิง แสดงว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์มแล้ว

3.บันทึกจำนวนครั้งและสาเหตุที่ทำให้ต้องถ่ายภาพรังสีใหม่

การตรวจเช็คประสัปดาห์

1.ทำความสะอาดอุปกรณ์ในการล้างฟิล์มและเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์ม (ความถี่ในการเปลี่ยนน้ำยาล้างฟิล์มอาจจะแตกต่างไปตามปริมาณการใช้งาน การเปรียบเทียบคุณภาพของภาพรังสีที่ได้กับภาพรังสีอ้างอิงจะช่วยในการตัดสินใจได้)

2.ทำความสะอาด view box

3.สรุปข้อผิดพลาดที่ทำให้ต้องถ่ายภาพรังสีใหม่เพื่อทำสถิติและหาวิธีแก้ไข

การตรวจเช็คประจำเดือน

1.ตรวจห้องมืด เพื่อหาบริเวณที่มีแสงรั่ว และตรวจประสิทธิภาพของ safelight และ filter ด้วย “coin test”

Coin test

เป็นการทดสอบเพื่อดูประสิทธิภาพของ safelight ที่ควรให้ความสว่างแต่ไม่ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม

วิธีการ

แกะฟิล์มใหม่ที่ยังไม่โดนรังสีในห้องมืด วางเหรียญบาทลงบนแผ่นฟิล์มและเปิด safelight ให้แผ่นฟิล์มโดนแสงอยู่ 3-4 นาที จากนั้นล้างด้วยวิธีปกติ safelight ที่ปลอดภัยจะต้องไม่ทำให้เกิดเงาหรือภาพเหรียญบนแผ่นฟิล์ม ฟิล์มที่ล้างออกมาจะต้องใสเหมือนเวลาล้างฟิล์มเปล่าที่ไม่โดนรังสี

2.สำหรับภาพรังสี panoramic และ cephalometric ให้ทำความสะอาด intensifying screen และตรวจความแนบสนิทของแผ่น intensifying screen กับฟิล์มในตลับฟิล์มถ้าแผ่นสกรีนกับฟิล์มไม่แนบสนิทกันดี จะทำให้ภาพรังสีที่ได้ไม่คมชัด

Wire mesh test

เป็นการทดสอบเพื่อดูความแนบสนิทของแผ่น intensifying screen กับฟิล์มในตลับฟิล์ม

5.ตรวจสอบค่า kVp, mA และ เวลาที่ใช้ถ่ายภาพรังสีแต่ละตำแหน่งให้เหมาะสม โดยปกติค่า mA จะกำหนดไว้ที่ค่าสูงสุดของเครื่องเอกซเรย์ ค่า kVp ที่65-70 kVp ส่วนเวลาให้เปลี่ยนไปตามตำแหน่งและขนาดของผู้ป่วย

วิธีการ

นำแผ่นมุ้งลวดมาวางทับบนตลับฟิล์มแล้วถ่ายภาพรังสีโดยใช้เวลาสั้นๆ จากนั้นล้างฟิล์มด้วยวิธีปกติ บริเวณที่แผ่นสกรีนไม่แนบสนิทกับแผ่นฟิล์มจะเห็นรายละเอียดของตารางไม่ชัดเจนและมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น

3.ตรวจการจัดเก็บและเบิกใช้ฟิล์มให้แน่ใจว่าฟิล์มเก่าถูกนำมาใช้ก่อนฟิล์มใหม่ เพื่อไม่ให้มีฟิล์มหมดอายุก่อนการใช้งาน

การตรวจเช็คประจำปี

4.ตรวจสภาพเสื้อตะกั่วให้อยู่ในสภาพดีไม่มีรอยแตกหรือฉีกขาด

6.ในกรณีที่ถ่ายภาพรังสีในระบบดิจิทัลให้ตรวจหารอยขีดข่วนและทำความสะอาดแผ่น Photostimulable Phosphor plate (PSP)

           การตรวจเช็คประจำปี เป็นการตรวจเช็คสภาพเครื่องเอกซเรย์ว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ โดยมากเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยจะมีการตรวจสอบดังนี้

X-ray Output เป็นการวัดปริมาณรังสีจากเครื่องเอกซเรย์ว่ามีปริมาณเท่าไรในการถ่าย1ครั้งและมีปริมาณเท่ากันทุกครั้งหรือไม่

Kilovoltage (kVp), Milliamperage (mA), Timer calibration เป็นการวัดค่าต่างๆว่ามีความถูกต้องตามหน้าจอแสดงผลหรือไม่

Half Value Layer (HVL) คือความหนาของโลหะที่ใช้ในการทำให้พลังงานของรังสีเอกซ์ลดเหลือครึ่งหนึ่งของค่าเริ่มต้นเป็นการวัดค่าพลังงานของรังสีเอกซ์ว่ามีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้เกิดภาพรังสีโดยที่ไม่มีรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ (low energy x-ray) ที่สามารถดูดกลืนและทำอันตรายเนื้อเยื่ออ่อน ได้ค่า HVL มาตรฐานจะอยู่ที่ 1.5 มม. อะลูมิเนียมที่ 70 kVp และ 2.5 มม. อะลูมิเนียมที่ 90 kVp

Collimation and Beam Alignment เป็นการตรวจสอบว่าลำรังสีขนานกับ collimator และมีเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่กำหนดหรือไม่ สำหรับเครื่องเอกซเรย์ทางทันตกรรมในช่องปากลำรังสีเอกซ์ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 7 ซม.

Tube Head Stability ตรวจสภาพของ tube head ว่าสามารถเคลื่อนย้ายไปรอบศีรษะผู้ป่วยได้โดยไม่ขยับ หรือเคลื่อนไปจากตำแหน่งขณะถ่ายภาพรังสีหรือไม่

            นอกจากตารางตรวจเช็คข้างต้น การประกันคุณภาพยังรวมไปถึงการส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมและทบทวนเทคนิคในการการถ่ายภาพรังสีให้แก่บุคลากรเป็นประจำ การเก็บสถิติและรายงานข้อผิดพลาด ซึ่งจะช่วยให้ป้องกันและแก้ไขการเกิดความผิดพลาดได้ดีที่สุด เพราะเมื่อมีภาพรังสีที่ไม่ได้คุณภาพเกิดขึ้น และจำเป็นต้องถ่ายซ้ำ ผู้ป่วยก็ต้องได้รับรังสีมากขึ้นแถมยังสิ้นเปลืองเวลา และทรัพยากรอีกด้วย

            โดยปกติการตรวจเช็คประจำวันมักจะใช้เวลาสั้นๆ เพียง 5 นาทีก่อนการเริ่มงาน การตรวจเช็คประจำเดือนอาจจะกินเวลาเพิ่มอีก10 นาทีจากการตรวจเช็คประจำวัน แต่สำหรับการตรวจเช็คโดยผู้เชี่ยวชาญอาจจะใช้เวลาถึง 1 หรือ 2 ชั่วโมงซึ่งก็ทำเพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้น ในปัจจุบันทันตแพทย์สามารถซื้อเครื่องมือตรวจเช็คสภาพเครื่องเอกซเรย์และตรวจเช็คได้ด้วยตนเอง หรือติดต่อหน่วยซ่อมบำรุงของบริษัทผู้ผลิตเครื่องเอกซเรย์ หรือสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็มีบริการตรวจเช็คประจำปีเช่นกัน

  • Grey Facebook Icon
  • Grey Twitter Icon
  • Grey Instagram Icon

© 2023 by We Smile. Proudly created with Wix.com

bottom of page